อุปกรณ์ตรวจจับควัน...(Smoke Detector)

การตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน
            การตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน มีหลักการ โดยการให้มีควันไหลเวียนในกล่อง (Chamber) เมือปริมาณควันถึงจุดที่กำหนด เพื่อกระตุ้นให้ระบบทำงาน ซึ่งการตรวจสอบที่นิยม คือการสร้างควัน หรือสภาวะควันจำลอง ให้เข้าไปไหลเวียนในกล่อง (Chamber)  ของอุปกรณ์ตรวจจับควัน
การสร้างควันกระทำได้หลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้
            1. การใช้ควันจากบุหรี่ วิธีนี้ไม่ค่อยดีนักเนื่องจาก
                - จะมีเขม่าตกค้างใน อุปกรณ์ตรวจสอบควันชนิด ไอไนเซชั่น (Smoke Detector Ioniztion Type) บนแผ่น Screen ซึ่งอาดจะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันทำงานผิดพลาดได้
                - เมื่อเข้าไปตรวจสอบในบางสถานที่ ที่ห้ามสูบบุหรี่ จะใช้วิธีนี้ไม่ได้
                - เมื่อเข้าไปตรวจสอบในสถานที่ มีวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิดก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้วิธีนี้
                - ถ้าต้องตรวจสอบมากมะเร็งคงถามหาก่อนเป็นแน่

            2. การใช้ควันจากธูป วิธีนี้ไม่ค่อยดีนักเนื่องจาก
                - จะมีเขม่าตกค้างใน อุปกรณ์ตรวจสอบควันชนิด ไอไนเซชั่น (Smoke Detector Ioniztion Type) บนแผ่น Screen ซึ่งอาดจะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันทำงานผิดพลาดได้
                - เมื่อเข้าไปตรวจสอบในบางสถานที่ ที่ห้ามสูบบุหรี่ จะใช้วิธีนี้ไม่ได้
                - เมื่อเข้าไปตรวจสอบในสถานที่ มีวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิดก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้วิธีนี้


            3. การใช้ควันจำลอง จาก Smoke spray เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการทดสอบอุปกรณ์ตรวจสอบควันที่สุด



           อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) เป็นอุปกร์ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอนุภาคของควันโดยอัตโนมัติ โดยมากการเกิด เพลิงไหม้จะเกิดควันไฟก่อน จึงทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันสามารถตรวจการเกิดเพลิงไหม้ได้ในการเกิดเพลิง ไหม้ระยะแรก แต่ก็มีข้อยกเว้นในการเกิดเพลิงไหม้บางกรณีจะเกิดควันไฟน้อยจึงไม่ควรนำ อุปกรณ์ตรวจจับควันไปใช้งาน เช่น การเกิดเพลิงไหม้จากสารเคมีบางชนิด หรือน้ำมัน
           หลักการทำงาน โดยทั่วไปอุปกรณ์ตรวจจับควันจะทำงานโดยอาศัย หลัการคือเมื่อมีอนุภาคควัน ลอยเข้าไปในอุปกรณ์ตรวจจับควัน อนุภาพควันจะเข้าไปกีดขวางวงจรไฟฟ้า หรือกีดขวางระบบแสงในวงจร หรือใช้อนุภาคควันในการหักเหแสงไปที่ตัวรับแสง
           ชนิดของอุปกรณ์ตรวจจับควัน แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือแบบ ชนิดไอโอไนเซชั่น (Ioniztion) , ชนิดโฟโตอิเล็กตริก ( Photoelextric )

           1 .) อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิด ไอไนเซชั่น (Smoke Detector Ioniztion Type) ภายในเป็นกล่อง(Chamber) มีแผ่นโลหะที่มีขั้วไฟฟ้าต่างกัน ที่มีสารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) ซึ่งจำทำหน้าที่กระตุ้นอากาศภายในให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน โดยไอออนในกล่องจะทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทั้งสองขั้ว เมื่อเกิดควันเข้าไปในกล่อง จะทำให้ค่าความนำไฟฟ้าของอากาศลด และกระแสไฟฟ้าจะลดลงเรื่อยตามปริมาณควันจนถึงค่าที่กำหนดไว้ ระบบจะทำงาน

รูป การทำงานของระบบ อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิด ไอไนเซชั่น  (Smoke Detector Ionization) เริ่มแรยังไม่มีอนุภาพของควัน กระแสไฟฟ้าจะเดินสะดวก ระบบจะไม่ทำงาน


รูป เมื่อมีอนุภาพควันมาติดที่แผ่น Screen (เห็นเป็นจุดดำๆ) จะเป็นตัวขัดขวางกระแสไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าลดต่ำลงจนถึงจุดที่ระบบทำงาน


รูป ภายในอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิด ไอไนเซชั่น  (Smoke Detector Ionization Type)
ข้อดี

สามารถตรวจจับควันที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอนที่เกิดจากการเผาไหม้อย่างหมดจดได้อย่างรวดเร็ว
ข้อเสีย

แต่จะตรวจจับควันที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ และหนาทึบที่เกิดจากการครุตัวอย่างช้า ได้ไม่ดีเท่าระบบ อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิด โฟโตอิเล็กตริก (Smoke Detertor Photoelectric Type)



  • หากมีฝุ่น แมลงขนาดเล็กหลุดเข้าไปในอุปกรณ์ จะทำให้เกิดการทำงานผิกพลาดได้

  • กระแสลม และการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศทำให้อุปกรณ์ทำงานผิดพลาดได้

  • การเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศ และความชื้นมีผลทำให้ระบบทำงานผิดพลาดได้ StatCounter - Free Web Tracker and Counter

    การแก้ไข (เรื่องความชื้น และความกดอากาศเปลี่ยนแปลง)
              เพื่อปิดจุดด้อยด้านนี้จึงมีการพัฒนาเป็นระบบอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิด ไอโอไนเซชั่นแบบกล่องคู่ กล่องหนึ่งจะรับอากาศจากภายนอก ส่วนอีกกล่องจะเป็นกล่องอากาศอ้างอิงที่เปิดช่องเล็กที่ยอมให้ความชื้นผ่าน ได้ แต่ไม่ยอมให้อนุภาคควันผ่าน กล่องทั้งสองจะทำการเปรียญเทียบกันระหว่างสองกล่องถ้าความชื้น และความดันทั้งสองกล่องเท่ากันระบบจะไม่ทำงาน
    2.) อุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดโฟโตอิเล็กตริก (Smoke Detertor Photoelectric Type) มีหลักการทำงานสองแบบคือ แบบหักเหของแสง และแบบใช้ควันกีดขวางแสง
    2.1) อุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดโฟโตอิเล็กตริก แบบควันกีดขวางแสง (Light Obsuration) ทำงานโดยใช้แห่งกำเนิดแสง (Emitted Light) ยิงเข้าที่ตัวรับแสง (Detector Light) เมื่อไม่มีควันไฟปริมาณแสงจะคงที่ๆค่าหนึ่งเสมอ เมื่อมีอนุภาคควันเข้ามาดังรูปขวามือ อนุภาคควันจะเข้าไปกีดขวางลำแสง แสงที่ส่องเข้าตัวรับจะต่ำลงเรื่อยจนถึงค่าที่กำหนดไว้ระบบจะทำงาน

    รูประบบการทำงานของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบกีดขวางแสง (Light Obsuration)

    2.2) อุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดโฟโตอิเล็กตริก แบบหักเหแสง (Light Scattering) ทำงานโดยมีแห่งกำเนิดแสง แต่จะไม่ยิงไปที่ตัวรับแสงโดยตรง จะอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อมีอนุภาคควันเข้ามาในอุปกรณ์ อนุภาคควันจะหักเหแสงบางส่วนไปที่ตัวรับแสง เมื่อมีควันมากขึ้นแสงก็จะหักเหเข้าตัวรับแสงมากขึ้นจนถึงจุดๆหนึ่งที่ระบบ จะทำงาน


    รูป ระบบการทำงานของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบหักเหแสง (Light Scattering)

    ข้อดี
    เหมาะกับการตรวจจับควันที่มีขนาดตั้งแต่ใหญ่ ตั้งแต่ 1 ไมครอนขึ้นไป คือควันที่เกิดจากการสันดาปไม่สมบูรณ์ เช่นเกิดเพลิงไหม้ในที่อับอากาศ

    2.3) อุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดโฟโตอิเล็กตริก แบบกล่องหมอกควัน (Cloud Chamber Type) ทำงานโดยการสุ่มตัวอย่างอากาศ โดยการดูกอากาศในพื้นที่เสาไปในกล่องที่มีความชื้นสูง และอากาศที่ถูกดูดเข้าไปจะถูกลดลดความดันลงอย่างช้าๆ โดยถ้าอากาศที่ถูกดูดเข้ามีอนุภาคควันอยู่จะกลั่นตัวกลายเป็นหมอก ถ้าอนุภาคควันมากความหนาแน่นของหมอกจะสูงจนถึงจุดที่ระบบทำงาน

     

    รูป Chart ขนาดอนุภาคควันต่างๆ หน่วยแกน x เป็นไมครอน
    รูปจาก http://www.air-purifiers-america.com/ed_particle-size.asp

  •  



  • การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน
              การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันต้องติดต้งในตำแหน่งที่สามารถตรวจจับควันได้ สะดวก และไม่ถูกกีดขวาง อุปกรณ์ตรวจจับควันจะมีปฏิกริยาตอบสนองหรือทำงานเมื่อควันลอยมากระทบ และเข้าไปยังส่วนตรวจจับควันของอุปกรณ์ตรวจจับควัน ฉนั้นการกำหนดจุดหรือตำแหน่งมีความสำคัญมาก ในการออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ต้องวิเคราะห์ถึงตำแหน่งที่มีโอกาศเกิดเพลิงไหม้ วิเคาระห์ถึงการเคลื่อนตัวของควัน วิเคราะห์ถึงการเบียงเบนของควันจากทิศทางลม การระบายอากาศ สภาพผิวเพดาน รูปร่างเพดาน ความสูงของการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ระยะห่าง และความสูงที่จะกล่าวต่อไปเป็นเพียงระยะมากสุดที่สามารถติดตั้งได้ในสภาพ ปกติเท่านั้น ในบางกรณีที่ต้องการความแม่นยำอาดต้องทำการติดทดสอบในสภานที่จริงร่วมด้วย
              ก่อนเริ่มเราจะต้องมารู้จัก ควันไฟกันก่อน คือ อากาศร้อนจากควันลอยสูงขึ้นไปในแนวดิ่ง และจะหยุดลอยตัวเมื่ออุณหภูมิของควันเย็นตัวลงเท่ากับอุณหภูมิของอากาศรอบ ข้าง ฉะนั้นในในบริเวณที่มีเพดานสูงอาดต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันในระดับต่ำ เพื่อให้ควันลอยไปถึงอุปกรณ์ได้ หรือติดตั้งให้ต่ำกว่าหลังคาที่มีอุณหภูมิสูง

    ความสูงในการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน
              สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดจุด ต้องติดตั้งในตำแหน่งความสูงไม่เกิน 10.5 เมตร และห่างจากเพดานลงมา ประมาณ 25 มิลลิเมตร ถึง 270 มิลลิเมตร
              สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดลำแสง ต้องติดตั้งในตำแหน่งความสูงไม่เกิน 25 เมตร และห่างจากเพดานลงมา ประมาณ 300 มิลลิเมตร ถึง 750 มิลลิเมตร (ต้องระวังตัวรับลำแสงถูกบดบัง หรือแสงจ้าซึ่งอาดทำให้การทำงานติดพลาดได้)

      ตาราง ตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน
           ความสูงที่ติดตั้ง        
    ระยะห่างจากฝ้าเพดาน หรือหลังคาไม่น้อยกว่า (มิลลิเมตร)
    (เมตร)
           อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง       
    อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด
    3.5
    300
    25
    4.0
    300
    40
    6.0
    300
    100
    8.0
    300
    175
    10.0
    350
    250
    10.5
    360
    270
    12.0
    400
    -
    14.0
    450
    -
    16.0
    500
    -
    18.0
    550
    -
    20.0
    600
    -
    22.0
    650
    -
    24.0
    700
    -
    25.0
    750
    -

    ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด
         สำหรับเพดานหรือพื้นผิวเรียบ
              ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยกันเองไม่เกิน 9.0 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 4.5 เมตร
              กรณีติดตั้งในทางเดินกว้างไม่เกิน 3.6 เมตร ระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยกันเองไม่เกิน 12.0 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 6.0 เมตร
          สำหรับเพดานหรือพื้นผิวเอียง
              สำหรับฝ้าเพดานเอียงมากกว่า 1:20 การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ในด้านแนวยาวขนานจั่ว แถวยอดจั่ว ห่างกันไม่เกิน 9.0 เมตร
              สำหรับฝ้าเพดานเอียงมากกว่า 1:20 การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ในด้านแนวยาวขนานจั่ว แถวริมชายคา ห่างกันไม่เกิน 18.0 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 9.0 เมตร
              สำหรับฝ้าเพดานเอียงมากกว่า 1:20 การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ในด้านแนวยาวขนานจั่ว แถวระหว่างยอดจั่ว กับ ริมชายคา ห่างกันไม่เกิน 18.0 เมตร และระยะห่างระหว่างแถวไม่เกิน 9.0 เมตร
          ระยะห่างจากผนัง เนื่องจากบริเวณที่ผนังชนกับ เพดานจะเกิดจุดอับอากาศขึ้น
               อุปกรณ์ตรวจจับควันต้องติดตั้งห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 4.5 เมตร กรณีมีผนังกั้นแต่ไม่ชนเพดาน แต่ห่างไม่เกิน 300 มิลลิเมตร ให้ถือเสมือนเป็นผนังชนเพดาน
          ระยะห่างจากหัวจ่ายลม
               ต้องติดต้งอุปกรณ์จับควันห่างจากหัวจ่ายลมไม่น้อยกว่า 400 มิลลิเมตร
          ระยะห่างสำหรับพื้นที่ ที่มีอัตราการระบายอากาศสูง ( 15 Airchange / 1 hour)
               ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยกันเองไม่เกิน 6.3 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 3.15 เมตร (ในกรณีความเร็วลมเกิน 3 เมตร/วินาที จะต้องลดระยะลง โดยคำนวณเป็นพิเศษ)
          ระยะห่างในพื้นที่มีสิ่งกีดขวางการไหลของควัน (เช่นบริเวณพื้นที่มีคานมาบล็อกเป็นช่องๆเป็นต้น)
                กรณีพื้นที่เพดานสูงเกิน 2.0 เมตร แต่ไม่เกิน 4.0 เมตร มีคานยื่นลงมาไม่เกิน 300 มิลลิเมตร
                     กรณ๊พื้นที่ว่างระหว่างร่องคาน ไม่เกิน 4 ตารางเมตร ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์จับควัน ไม่เกิน 6.3 เมตร ห่างผนังไม่กิน 3.15 เมตร โดย จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ติดตั้งอุปกรณ์จับควันบริเวณใต้คาน
                     กรณ๊พื้นที่ว่างระหว่างร่องคาน เกิน 4 ตารางเมตร ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์จับควัน ไม่เกิน 9.0 เมตร ห่างผนังไม่กิน 4.5 เมตร แต่ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันไว้ที่พื้นแทน ที่จะติดตั้งไว้ที่คานดังกรณ๊ด้านบน
                 กรณีพื้นที่เพดานสูงเกิน 4.0 เมตร มีคานยื่นลงมาไม่เกิน 100 มิลลิเมตร
                      ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยกันเองไม่เกิน 9.0 เมตร และห่างจากผนังไม่เกิน 4.5 เมตร โดยติดตั้งไว้ใต้คาน แต่ถ้าระยะห่างระหว่างคานเกินกว่า 9.0 เมตรจะต้องติดตั้งอุปกรณ์จับควันที่เพดาน บริเวณระหว่างคานเพิ่มอีกหนึ่ง ตัว             



    กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
              กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
                     ข้อ 10 (5) การขับเคลื่อนอากาศของระบบปรับภาวะอากาศต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
    (ก) มีสวิตซ์พัดลมของระบบการขับเคลื่อนอากาศที่ปิดเปิด ด้วยมือติดตั้งในที่ที่เหมาะสมและสามารถปิดสวิตซ์ได้ทันทีเมื่อเกิดเพลิงไหม้
    (ข) ระบบปรับภาวะอากาศที่มีลมหมุนเวียนตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อนาทีขึ้นไป ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันหรืออุปกรณ์ตรวจสอบการเกิดเพลิงไหม้ ที่มีสมรรถนะไม่ด้อยกว่าอุปกรณ์ตรวจจับควันซึ่งสามารถบังคับให้สวิตซ์หยุด การทำงานของระบบได้โดยอัตโนมัติ
     



    ประวัติเรื่อง อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector)
              ในปี 1902 George Andrew Darby เป็นวิศวกรทางด้านอิเล็กโทรนิก เป็นชาวเมืองเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ เป็นเจ้าของสิทธิบัตรการประดิษฐ อย่างเช่น electrical Heat-Indicator , อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ( Fire alarm) ได้ประดิษฐ อุปกรณ์ขึ้นมาหนึ่งอย่าง โดยน่าจะจัดเป็นอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนมาก กว่าทีจะเรียนกว่า อุปกรณ์ตรวจจับควัน โดยมีหลักการทำงาน การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ จะทำให้ระบบทำงาน จึงต่อมาได้พัฒนาเป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันในเวลาต่อมา



    มาดูรูป Modern Smoke Detector กันถ้ากลัวติดแล้วไม่สวย แต่ต้องลงทุนหน่อย



    รูปจาก http://ohgizmo.com/2006/11/28/snapalarm-smoke-detector/  By Andrew Liszewski


    รูปจาก www.hippoblog.com/2005_01_30_kive.htm



    รูปจาก www.homesecurityinformation.com/ideas/2007/06/
     
     
    ...........................................................................................
     
    ที่มา : http://www.weerpro.page.tl   (ผู้ตรวจอาคาร)

  • วีดีโอ...ฝึกซ้อมแผนทางนํ้า53